วิหารเซียน อเนกกุศลศาลา ชลบุรี

ชลบุรี / วิหารเซียน

วิหารเซียน หรือ อเนกกุศลศาลา เป็นสถานที่รวบรวมวัตถุโบราณของงานศิลปะของไทยและจีน อยู่ใกล้กับเขาชีจรรย์ และไร่องุ่นซิลเวอร์เลค สามารถจัดโปรแกรมเที่ยวด้วยกันได้ อาคารวิหารเซียน มีจำนวน 3 ชั้น ด้านนอกอาคารได้จัดแสดง รูปหล่อโลหะแปดเซียนข้ามทะเล รูปหล่อพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ตั้งอยู่บริเวณหน้าอาคาร รูปหล่อของอาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติ

ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของวิหารเซียน มีพื้นที่ทั้งหมด 7 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) และชื่อ  อเนกกุศลศาลา ก็เป็นชื่อพระราชทานเช่นกัน

ในวันที่ 24 ธันวาคม 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) เสด็จทรงเปิด  อเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน) และในวันที่ 9 สิงหาคม 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเปิดห้องศิลปกรรมไทย ณ อเนกกุศลศาลา

Klook.com

ประวัติอาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติ ผู้ก่อตั้งวิหารเซียน

อาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติ เป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2468 และได้โตที่ประเทศจีน เป็นผู้เผยแพร่วัฒนธรรมไทย – จีน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย – จีน

อาจารย์สง่า เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านฮวงจุ้ย และมีชื่อเสียงมาก ได้ใช้ศาสตร์ในการช่วยเหลือคน สนองงานในสมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับการจัดวางตำแหน่งของศาสนสถาน ผลงานอันล้ำค่าของอาจารย์สง่า ได้แก่ อเนกกุศลศาลา หรือ วิหารเซียน เป็นศูนย์รวมศิลปะกรรม สมบัติล้ำค่าไทย – จีน ที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

อาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติ ได้ถึงแก่กรรมในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ด้วยคุณงามความดีของท่าน ทางญาติและลูกศิษย์ได้สร้างรูปหล่อขึ้นเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณของท่านให้ปรากฎสืบไป

งานศิลปะที่ด้านนอกอาคาร

ป้ายอักษรจีนที่ซุ้มประตูด้านใน เป็นลายมือของท่านซุนเคอ บุตรชายของ ดร.ซุนยัดเซ็น ที่เขียนให้แก่ อาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติ โดยเฉพาะ จารึกเป็นภาษาจีน 4 ตัว อ่านว่า จู้ เหลิน วุ่ย เล่อ (จีนกลาง) มีความหมายว่า “การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์นั้นย่อมเป็นสุข”

รูปปั้นเทพเจ้าจีน

หินแกรนิตแกะสลักจากประเทศจีน มาจากมณฑลกวางตุ้ง มีทั้งหมดมากกว่า 60 ชิ้น ชิ้นที่น่าสนใจที่สุดเป็น สิงโตปักกิ่งคู่ หน้าประตูเข้าอาคาร มีขนาสูง 3.5 เมตร และหนักรวม 44 ตัน

งานศิลปะภายในชั้น 1

มีรูปปั้นศิลปะจีนต่างๆ เช่น เจ้าแม่กวนอิม ไซอิ๋ว เปาบุ้นจิ้น พระพุทธรูป สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้รูปปั้นจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ ฯลฯ เยอะมากจนนับไม่ถ้วน ผลงานแต่ละชิ้นอยู่ในสภาพที่ดีมาก

ด้านหน้าทางเข้า

รูปปั้นพระพุทธเจ้า เทพเจ้าจีน ต่างๆ

รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม สิ่งของแต่ละชิ้นถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ

ชุดหุ่นทหารดินเผาจากสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้

หุ่นทหารดินเผาเหล่านี้ขุดพบในสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ เมืองซีอานประเทศจีน อาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติ ได้รับมอบเป็นพิเศษจากประเทศจีน ถือว่าเป็นของเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก ซึ่งรัฐบาลจีนไม่เคยมอบเป็นการถาวรให้กับประเทศใดมาก่อน แสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่าง อาจารย์สง่า และ รัฐบาลจีน

หุ่นทหารดินเผาที่ขุดขึ้นมาได้มีจำนวนกว่า 6 พันตัว และที่อยู่ในวิหารเซียนมีเกือบ 10 ตัว (ประมาณด้วยสายตา)

รูปปั้นกองทหารของจิ๋นซีฮ่องเต้ รัฐบาลจีนมอบให้

งานศิลปะภายในชั้น 2

เป็นหอเซียน หรือ หอกลางเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อปิดทองเซียนลื่อต่งปิง ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดเซียนของลัทธิเต๋า ด้านนอกเป็นลานกลางแจ้งแสดงหุ่นจำลองของเทพต่างๆ บนสวรรค์ เป็นรูปพระจักรพรรดิจีน รูปหล่อท่ามวย 18 อรหันต์ของเส้าหลิน และรูปหล่อชุดวิถีชาวจีน แสดงให้เห็นประเพณีและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวจีน

รูปหล่อปิดทองเซียนลื่อต่งปิง

รูปหล่อเทพเจ้าจีน

งานศิลปะภายในชั้น 3

เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง และพระบรมสารีริธาตุ ด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปปางประสูติ ผนังรอบๆ ห้องติดภาพจิตรกรรมพระพุทธประวัติ

การเข้าชม
เวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา

  • จันทร์ – ศุกร์ 8:00 – 17:00
  • เสาร์ – อาทิตย์ 8:00 – 17:30
ช่วงเวลาเที่ยว : ตลอดทั้งปี
ค่าเข้าชม

  • ผู้ใหญ่ 50 บาท
  • เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี นักเรียน นักศึกษาและข้าราชการในเครื่องแบบ พระภิกษุ สามเณร แม่ชี และนักบวชในศาสนาอื่น ไม่ต้องเสียค่าเข้า
ที่ตั้ง – ติดต่อวิหารเซียน
ที่อยู่ :
ถนนสุขุมวิท  อ.สัตหีบ  จ.ชลบุรี 20180
เบอร์โทรศัพท์ :
เวบไซต์ :
การเดินทาง
รถยนต์ : ใช้เส้นทางเดียวกับวัดญาณสังวราราม คือ จากถนนสุขุมวิท ผ่านพัทยาใต้มาทางหาดจอมเทียน เลยโรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน และโรงแรม โอเชียน มารีน่าไป ให้ชิดซ้ายจะมีป้ายบอกไปวัดเขาชีจรรย์ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไป ก่อนถึงวัดญาณสังวราราม ประมาณ 1 กม. พบทางแยกขวาริมอ่างเก็บน้ำบ้านอำเภอ ให้เลี้ยวเข้าไป ตามป้ายบอกทาง จะเห็นวิหารจีนโดดเด่น
รถโดยสาร : ไม่มีรถประจำทางไปถึง

Post Views 36814

admin

นักเขียนประจำ emagtravel.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *