จวนเจ้าเมืองระนอง บ้านค่ายเจ้าเมืองระนอง

ระนอง / จวนเจ้าเมืองระนอง บ้านค่ายเจ้าเมืองระนอง

จวนเจ้าเมืองระนอง หรือ บ้านค่ายเจ้าเมืองระนอง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2420 บนเนื้อที่ประมาณ 33 ไร่เศษ เป็นบ้านเจ้าเมืองคนแรกของระนอง พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) ท่านเป็นคนจีนที่สมรสกับคนไทยชาวพังงา และได้เข้ารับราชการ มีคุณงามความดีหลายอย่าง ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นหลวงรัตนเศรษฐีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

จวนเจ้าเมืองระนองมีการก่อสร้างในลักษณะค่าย ประกอบไปด้วย บ้านหลังเล็กๆ ของตระกูล ณ ระนอง, ศาลบรรพบุรุษ ส่วนตัวอาคารเก่าที่เจ้าเมืองระนองได้พักอาศัย, เรือนรับรองแขก โรงเก็บสินค้า หน่วยงานราชการ ฯลฯ แต่ในปัจจุบันได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เหลือเพียงเสาและกำแพงอิฐ

อาคารหลังนี้เป็นศาลบรรพบุรุษ มีคุณโกศล ณ ระนอง (ผู้ชายเสื้อสีเหลือง) บรรยายให้ความรู้ ความเป็นมาของจวนเจ้าเมืองระนอง

ศาลบรรพบุรุษ

ป้ายประจำตระกูล ณ ระนอง (ป้ายเกาหยัง) มีความหมายว่า “บ้านหลังนี้มากไปด้วยแก้วแหวนเงินทอง บ้านหลังนี้มากมายไปด้วยขุนนาง” คุณโกศล ได้อธิบายถึงลายเส้นภาษาจีนแบบลายเส้นพู่กัน และพื้นหลังสีทองที่เห็นนั้นมีรายละเอียดมากมายไม่ว่าจะเป็นรูปค้างคาว ก้อนเมฆ และ ของขวัญ

ค้างคาวตามความเชื่อของคนจีนนั้น ถือว่าเป็นสัตว์ที่สูงส่ง เนื่องจากกิน และ อยู่ในที่สูงตลอด

ภายในบ้านมีรูปของตระกูล ณ ระนองติดเต็มผนัง

ข้าวของเครื่องใช้เก่าๆ โคมไฟจากต่างประเทศ

ชุดรับแขกของเก่า

เสาที่เห็นในรูปด้านบนเป็นอาคารซินจู๊ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของ ทายาทรุ่น 2-3 ของตระกูล ณ ระนอง (คอซิมก๊อง – คอยู่หงี่)

บ่อน้ำเก่า ปัจจุบันอยู่ในสภาพตื้นเขิน ไม่มีน้ำ

ต้นยางพาราคู่นี้ปลูกโดย พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ผู้ที่นำยางพาราจากมาเลเซียมาปลูกในบ้านเรา และ ส่งเสริมให้มีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ จนไทยเราสามารถส่งออกยางพาราได้เป็นอันดับ 1 ของโลก (คิดเป็น 35.7 % ของผลผลิตโลก ข้อมูลปี พ.ศ. 2558)

ที่บริเวณกำแพงของจวนเจ้าเมือง เป็นกำแพงอิฐ สร้างขึ้นเพื่อป้องกันศัตรูในสมัยปราบจลาจลอั้งยี่ แนวรั้วกำแพงมีความยาวถึง 954 เมตร สูง 4 เมตร กำแพงที่เห็นในปัจจุบัน บางส่วนมีการทำขึ้นมาใหม่แทนของเก่าที่พังไปตามอายุ

ถ้าสังเกตให้ดีกำแพงจะมีช่องอยู่ตลอดแนว โดยมีอิฐแผ่นบางๆ ปิดไว้อยู่ เป็นช่องสำหรับยิงปืนออกไปที่ด้านนอก ป้องกันการโจมตีจากด้านนอก

อาคารจวนเจ้าเมือง

ส่วนที่เป็นจวนเจ้าเมืองปัจจุบันเหลือเพียงผนังอิฐ กรมศิลปากรได้ทำหลังคาบังแดด บังฝน เพื่อไม่ให้พังไปมากกว่านี้ ปัจจุบันจวนเจ้าเมืองระนองได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว

อาคารคลังสินค้า เป็นอาคารขนาด 9 ห้อง หลังคามุงกระเบื้องกาบกล้วย ยาวประมาณ 110 เมตร ใช้เป็นที่เก็บสินค้าในสมัยก่อน ปัจจุบันเหลือเพียงผนังอิฐสูงประมาณ 1 เมตร

บ้านพักของทายาทตระกูล ณ ระนอง บ้านหลังเล็กๆ ในพื้นที่จวนเจ้าเมืองระนอง

การเข้าชม
เวลาทำการ : 8.00 – 17.00 น. เปิดทุกวัน
ช่วงเวลาเที่ยว : ตลอดทั้งปี
ค่าเข้าชม

  • ไม่เสียค่าธรรมเนียม – ค่าเข้าชม
ที่ตั้ง – จวนเจ้าเมืองระนอง บ้านค่ายเจ้าเมืองระนอง
ที่อยู่ :
จวนเจ้าเมืองระนอง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
การเดินทาง
รถยนต์ : ตั้งอยู่ทางทิศเหนือเส้นถนนเรืองราษฏร์ ตัดเข้าถนนกิจผดุง ใกล้กับตลาดเช้า หรือชาวบ้านเรียกว่าตลาดสะพานยูง
รถโดยสาร :

Post Views 6832

admin

นักเขียนประจำ emagtravel.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *