ปทุมธานี, ข้อมูลท่องเที่ยวปทุมธานี, การเดินทาง

จังหวัดปทุมธานี เดิมเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือเมื่อพุทธศักราช 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก จากนั้นมาชุมชนสามโคกได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ

ต่อมาแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่สามโคก และครั้งสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะ เข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า มอญใหญ่ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน ฉะนั้นจากชุมชนที่ขนาดเล็ก บ้านสามโคก จึงกลายเป็น เมืองสามโคก ในกาลต่อมา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเอาพระทัยใส่ดูแล ทำนุบำรุงชาวมอญเมืองสามโคกไม่ได้ขาด ครั้งเมื่อเดือน 11 พุทธศักราช 2358 ได้เสด็จประพาสที่เมืองสามโคก และประทับที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้ายเยื้องเมืองสามโคก ยังความปลาบปลื้มใจให้แก่ชาวมอญเป็นล้นพ้น จึงได้พากันหลั่งไหลนำดอกบัวขึ้นทูลเกล้าฯถวายราชสักการะอยู่เป็นเนืองนิจ ยังความซาบซึ้งในพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง จึงบันดาลพระราชหฤทัยให้พระราชทานนามเมืองสามโคกเสียใหม่ว่า เมืองประทุมธานี ซึ่งวันนั้นตรงกับวันที่ 23 สิงหาคม พุทธศักราช 2538 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ชื่อเมืองประทุมธานีจึงได้กำเนิดนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ในปีพุทธศักราช 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้ใช้คำว่า จังหวัด แทนเมือง และให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดใหม่จาก ประทุมธานี เป็น ปทุมธานี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยุบจังหวัด ธัญบุรีขึ้นกับจังหวัดปทุมธานีเมื่อ พุทธศักราช 2475

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานนาม เมืองปทุมธานีเป็นต้นมา จังหวัดปทุมธานีก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์มีศิลปวัฒนธรรม และเอกลักษณ์อื่นๆเป็นของตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวปทุมธานีภาคภูมิใจเป็น อย่างยิ่ง และเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก

ตัวเมืองปทุมธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศเหนือประมาณ 46 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1,565 ตารางกิโลเมตร เเบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมเเก้ว ธัญบุรี หนองเสือ คลองหลวง และลำลูกกา

รถยนต์ : จากกรุงเทพฯสามารถเดินทางไปจังหวัดปทุมธานีได้ 3 เส้นทาง ดังนี้
1. กรุงเทพฯ-บางเขน-รังสิต-ปทุมธานี
2. กรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปากเกร็ด-ปทุมธานี
3. กรุงเทพฯ-บางใหญ่-บางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว-ปทุมธานี
4. กรุงเทพฯ-ใช้เส้นทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ลงที่ด่วนบางพูน เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางรังสิต – ปทุมธานี (หมายเลข 346)
รถโดยสาร : 1. รถธรรมดาสาย 33 สนามหลวง-ปทุมธานี
2. รถธรรมดาสาย 90 รัชโยธิน-ท่าน้ำปทุมธานี
3. รถธรรมดาสาย 29, 34, 39, 59, 95 รถปรับอากาศสาย 185, 503, 510, 513, 520, 522, ปอ. 29, ปอ. 34 และ ปอ. 39 ลงรถที่รังสิต แล้วต่อรถสายรังสิต-ปทุมธานี
4. รถร่วมบริการสาย 104 (สถานีขนส่งจตุจักร-ปากเกร็ด) หรือสาย 32 (วัดโพธิ์-ปากเกร็ด) แล้วต่อรถสาย 33 และ 90 จากปากเกร็ดไปจังหวัดปทุมธานี
สอบถามรายละเอียดเส้นทางเดินรถ ขสมก.เพิ่มเติมได้ที่ โทร.184 หรือที่เว็บไซท์ www.bmta.co.th
รถไฟ : จากสถานีหัวลำโพง สามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง เดินทางโดยรถไฟไปลงที่สถานีรังสิต แล้วต่อรถโดยสารจากสายรังสิต-ปทุมธานี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1690 , 0 2223 7010, 0 2223 7020, 0 2220 4334, 0 2220 4444 หรือที่เว็บไซต์ www.railway.co.th
เรือ : จากกรุงเทพฯ โดยสารเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าน้ำนนทบุรี แล้วต่อรถสายนนทบุรี-ปทุมธานี สอบถามข้อมูลเรือด่วนเจ้าพระยาเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2623 6001-3

 

Post Views 660

admin

นักเขียนประจำ emagtravel.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *