Top 50 สายการบินยอดนิยม ที่คนไทยนิยมใช้บริการ

เราได้รวบรวมรายชื่อและข้อมูลโดยย่อของ 50 สายการบินที่คนไทยนิยมใช้บริการบินในประเทศ และไปต่างประเทศมากที่สุด ไปดูกันเลย…

แอร์เอเชียเอ็กซ์ (AirAsia X)

สายการบินที่แตกย่อยออกมาจาก สายการบินแอร์เอเชีย หรือสายการบินราคาประหยัดชื่อดังของโซนเอเชีย แต่จะเน้นการเดินทางในระยะไกล (ใช้เวลาเดินทางมากกว่า 4 ชม.ขึ้นไป) และมีเครื่องบินที่จุผู้โดยสารได้มากกว่า

การบินไทย (Thai Airways)

สายการบินแห่งชาติของประเทศไทย อยู่ในสังกัดของกระทรวงคมนาคม เปิดให้บริการชาวไทยมาแล้วยาวนานกว่า 56 ปี

แอร์ไชน่า (Air China)

สายการบินแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน สายการบินที่มีขนาดที่สุดเป็นอันดับสองรองจากสายการบินไชน่าเซาเทิร์น เป็นสายการบินที่มีจำนวนเครื่องบินเยอะเป็นอันดับ 18 ของโลก

ไทเกอร์แอร์ (Tigerair)

สายการบินราคาประหยัดของประเทศสิงคโปร์ ฐานปฏิบัติการหลักอยู่ที่สนามบินนานาชาติสิงคโปร์ เจ้าของรางวัล “CAPA Low Cost Airline” ถึงสองครั้ง ในปี 2006 และ 2010

บางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways)

สายการบินของ บริษัท การบินกรุงเทพจำกัด ในระยะแรกให้บริการแค่ในวงแคบ อย่างเช่น หน่วยงานของรัฐบาล หน่วยงานรัฐวิสากิจ และเอกชนต่างๆ

ออลนิปปอนแอร์เวย์ (All Nippon Airways)

สายการบินสัญชาติญี่ปุ่น มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศรองจากเจแปนแอร์ไลน์ โดยมีฐานปฏิบัติการหลักอยู่ในกรุงโตเกียว

ไชน่าอีสเทิร์น (China Eastern Airlines)

หนึ่งในสายการบินหลักของประเทศจีน เป็นสายการบินที่มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประเทศจีน ฐานปฏิบัติการหลักอยู่ในเซี่ยงไฮ้

เจแปนแอร์ไลน์ (Japan Airlines)

สายการบินประจำชาติของญี่ปุ่น เป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย โดยที่ตอนแรกแยกเป็นสองสายการบิน ในประเทศ และ ต่างประเทศ ภายหลังเลยถูกรวมกันเป็นหนึ่ง

แอร์เอเชีย (AirAsia)

สายการบินของประเทศมาเลเซีย สายการบินโลว์คอสต์อันดับ 1 ของทวีปเอเชีย ให้บริการบินในระยะทางสั้นๆเท่านั้น (ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า 4 ชม.)

เวียดนามแอร์ไลน์ (Vietnam Airlines)

สายการบินแห่งชาติของประเทศเวียดนาม เดิมที่แล้วเป็นหนึ่งในหน่วยงานของรัฐบาลภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นสายการบิน ได้รับการจัดอันดับ 3 ดาว จาก Skytrax

 

และถัดไปเราไปดู อีก 40 สายการบินที่คนไทยนิยมใช้บริการเป็นอันดับต้นๆของประเทศ ติดตามชมกันต่อได้เลย….

ไลออนแอร์ (Lion Air)

สายการบินโลว์คอสต์ ของประเทศอินโดนิเซีย ซึ่งเข้ามาเปิดบริการคนไทย ในชื่อ ไทยไลออนแอร์ โดยการรวมกลุ่มของนักธุรกิจชาวไทย ร่วมกับฝั่งอินโดนิเซีย

เจ็ทสตาร์ เอเชีย (Jetstar Asia)

สายการบินราคาประหยัดของประเทศสิงคโปร์ บริษัทย่อยของสายการบินแควนตัส เพื่อหวังจะมาทำตลาดตั๋วเครื่องบินราคาประหยัดในทวีปเอเชียตะวันออกเชียงใต้

แควนตัส (Qantas)

สายการบินประจำชาติออสเตรเตรเลีย ป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สดในประเทศ ไม่เพียงเท่านั้น แต่สายการบินแควนตัสยังเป็นสายการบินที่ให้บริการมานานที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกอีกด้วย

เอมิเรตส์ (Emirates)

สายการบินของแห่งชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สายการบินในเครือเอมิเรตส์กรุ๊ปของรัฐบาลดูใบ ฐานการบริหารหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานดูไบ และยังเป็นสายการบินที่มีขนาดใหญที่สุดในตะวันออกกลางอีกด้วย

เอทิฮัด (Etihad Airways)

เป็นสายของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากสายการบินเอมิเรตส์ โดยที่มีฐานปฏิบัติการหลังอยู่ในอาบูดาบี

นกแอร์ (Nok Air)

หนึ่งในสายการบินราคาประหยัดของไทย ที่มีชื่อเดิมว่าสกายเอเชีย ก่อนจะถูกเปลี่ยนชื่อภายหลังเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยที่มีการบินไทยถือหุ้นอยู่ถึง 49% เลยทีเดียว

โอเรียนไทย (Orient Thai)

สายการบินของไทย ที่ใช้ชื่อเดิมว่า โอเรียนท์เอ็กซ์เพรสแอร์ บริษัทแม่ของสายการบินราคาประหยัด วันทูโก ที่เคยมีข่าวโด่งดังนั่นเอง

ไทยสมายล์ (Thai Smile)

สายการบินในเครือของสายการบินไทย เป็นการบริหารงานแบบไฮบริดของสายการบินไทยโดยเน้นการใช้กลยุทธ์ที่ทำให้ต้นทุนต่ำลง แต่บริการทั้งหมดยังคงเดิมเหมือนสายการบินไทย

การูด้า (Garuda Indonesia)

สายการบินประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่ง “การูด้า” แปลว่าครุฑ สัญลักษณ์ของประเทศอินโดนีเซียนั่นเอง และยังได้รับให้เป็นสายการบิน 5 ดาวจาก Skytrax อีกด้วย

ดรากอนแอร์ (Dragonair)

สายการบินของประเทศฮ่องกง สายการบินลูกของบริษัทคาเธ่ย์แปซิฟิค ท่าอากาศยานหลักอยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง

รอยัล แอร์ มาร็อค (Royal Air Maroc)

สายการบินแห่งชาติของประเทศโมร็อคโค และยังเป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศอีกด้วย ซึ่งเจ้าของก็คือรัฐบาลกลางของโมร็อคโคนั่นเอง

โกแอร์ (Go Air)

สายการบินราคาประหยัดของประเทศอินเดีย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของสายการบินทั้งหมดในอินเดีย ฐานปฏิบัติการหลักอยู่ในเมืองมุมใบ

สปริงแอร์ไลน์ (Spring Airlines)

สายการโลว์คอสต์จากประเทศจีน ซึ่งเป็นสายการบินราคาประหยัดสายการบินแรกของประเทศจีน ฐานปฏิบัติการหลักอยู่ในเมืองเซี่ยงไฮ้

ไชน่าเซาเทิร์น (China Southern Airlines)

หนึ่งในสามของสายการบินหลักของประเทศจีน เป็นสายการบินมีจำนวนเครื่องบินมากที่สุดในทวีปเอเชีย และยังมีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลกอีกด้วย

ศรีลังกาแอร์ไลน์ (Srilankan Airlines)

สายการบินประจำชาติของประเทศศีลังกา ซึ่งเริ่มปฏิบัติการแทนที่สายการบินแอร์ซีลอน สายการบินประจำชาติเก่าของประเทศ

โอมานแอร์ (Oman Air)

สายการบินประจำชาติของโอมาน ฐานปฎิบัติการณ์อยู่ที่ท่ากาศยานนานาชาติมัสกัตเมือง Seeb เป็นสายการบินที่ไม่เคยมีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บเลยตั้งแต่เปิดให้บริการมา

เซียะเหมินแอร์ไลน์ (Xiamen Airlines)

สายการบินสัญชาติจีน แห่งแรกที่มีหุ้นทั้งหมดเป็นของจีน โดยผู้ถือหุ้นใหญ่สุดคือ สายการบินไชน่าเซาเทิร์น ที่ถือหุ้นจำนวนถึง 51% เคยได้รับรางวัล “The Best Airline In Mainland China” ติดต่อกันถึง 6 สมัย

เซินเจิ้นแอร์ไลน์ (Shenzhen Airlines)

สายการบินสัญชาติจีน ที่มีฐานปฏิบัติการหลักอยู่ในเมืองเซินเจิ้น สายการบินที่่มีจำนวนผู้สารในประเทศจีนใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 6

กัลฟ์แอร์ (Gulf Air)

สายการบินแห่งชาติของประเทศบาห์เรน สายการบินที่ก่อตั้งโดยนักบินชาวอังกฤษ โดยได้ใช้รุปเหยี่ยวสีทอง เป็นตราสัญลักษณ์ของสายการบิน

สายการบินรอยัลจอร์แดน (Royal Jordanian)

สายการบินประจำชาติของประเทศจอร์แดน มีฐานปฏิบัติการณ์หลักอยู่ในเมืองอัมมาน เจ้าของคำพูด “A World of Stories”

เมียนมาร์แอร์เวย์ (Myanmar Airways)

สายการบินของประเทศพม่า มีฐานปฏิบัติการหลักอยู่ในกรุงย่างกุ้ง เที่ยวบินส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สปอนเซอร์หลักของ Southeast Asian Games ปี 2013

แอร์ฟรานซ์ (Air France)

สายการบินประจำชาติของประเทศฝรั่งเศส โดยที่ปัจจุบันได้เข้าร่วมพาร์ทเนอร์ร่วมกับสายการบินเคแอลเอ็ม สายการบินประจำชาติของประเทศเนเธอร์แลนด์

บริติชแอร์เวย์ (British Airways)

สายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอังกฤษ และยังใหญที่สุดเป็นอับสามของทวีปยุโรปอีกด้วย เป็นสายการบินที่มีเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก มากกว่าสายการบินอื่นๆในยุโรปด้วยกัน

มาเลเซียแอร์ไลน์ (Malaysia Airlines)

สายการบินประจำชาติของประเทศมาเลเซีย 1 ใน 5 สายการบินที่ Skytrax จัดให้อยู่ในสายการบินระดับ 5 ดาว และยังเป็นหนึ่งในสายการบินที่คนให้การยอมรับมากที่สุดในดินแดนตะวันออกอีกด้วย

ลาวแอร์ไลน์ (Lao Airlines)

ลาวแอร์ไลน์ : สายการบินแห่งชาติของประเทศลาว มีฐานปฏิบัติการหลักอยู่ในเมืองเวียงจันทร์ ดูแลและควบคุมโดยกระทรวงคมนาคมของประเทศ

โคเรียนแอร์ (Korean Air)

สายการบินแห่งชาติของประเทศเกาหลีใต้ มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ มีฐานปฏิบัติการหลักอยู่ในกรุงโซล ท่าอากาศยานหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานอินชอน

อีวีเอแอร์ (Eva Air)

สายการบินของประเทศไต้หวัน ควบคุมและบริหารงานโดย Evergreen Group กลุ่มที่ทำธุรกิจขนส่งขนาดใหญ่ในไต้หวัน สายการบินนี้ยังเป็นคู่แข่งสำคัญของไชน่าแอร์อีกด้วย

สิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airlines)

สายการบินประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ สายการบินที่มีผู้โดยสารมากที่สุดเป็นอันดับ 11 ในทวีปเอเชีย และมีผู้โดยสารระหว่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลกอีกด้วย

คาเธ่ย์ แปซิฟิค (Cathay Pacific)

สายการบินประจำชาติของฮ่องกง เป็นสายการบิน 1 ใน 6 ที่ได้รับ 5 ดาวด้านการบริการลูกค้าจาก Skytrax ท่าอากาศยานหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง

ไห่หนานแอร์ไลน์ (Hainan Airlines)

สายการบินของสาธารณรัฐประชาชนจีน สายการบินเอกชนที่ใหญที่สุดในจีน มีจำนวนเครื่องบินมากที่สุดเป็นอันดับที่สี่ของจีน และยังเป็นสายการบินเดียวของจีนที่ได้ได้รับสายการบิน 5 ดาวจาก Skytrax อีกด้วย

กาตาร์แอร์เวย์ (Qatar Airways)

สายการบินของประเทศกาตาร์ สายการบินที่มีอัตราการเติบโตของธุรกิจรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่ละปีมีผู้โดยสารมากถึง 12 ล้านคน และยังได้รับสายการบินระดับ 5 ดาวของ Skytrax ด้วย

สายการบินอินดิโก (IndiGo)

สายการบินราคาประหยัดของประเทศอินเดีย มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดในอินเดีย และยังเป็นสายการบินโลว์คอสต์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในทวีปเอเชียอีกด้วย

เจ็ทแอร์เวย์ (Jet Airways)

สายการบินสัญชาติอินเดีย ฐานปฏิบัติการหลักอยู่ในเมืองมุมใบ เป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในอินเดีย และเครื่องบินของสายการบินก็ยังมีอายุน้อยที่สุดในโลกอีกด้วย

เซบู แปซิฟิก (CEBU Pacific Air)

สายการบินราคาประหยัดของประเทศฟิลิปปินส์ ฐานปฏิบัติการหลักอยู่ในกรุงมะนิลา ปัจจุบันเป็นสายการบินที่มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดในประเทศ

เอเชียน่าแอร์ไลน์ (Asiana Airlines)

หนึ่งในสองของสายการบินหลักในประเทศเกาหลีใต้ ฐานปฏิบัติการหลักอยู่ในกรุงโซลประจำท่าอากาศยานสองที่ คือ ท่าอาศยานอินชอน และ ท่าอากศยานกิมโป

แอร์อินเดีย (Air India)

สายการบินแห่งชาติของประเทศอินเดีย ฐานปฏิบัติการหลักตั้งอยู่ที่เมืองมุมใบ โดยเป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 16 ของทวีปเอเชียอีกด้วย

แอร์อาระเบีย (Air Arabia)

สายการบินราคาประหยัดของสหรัฐอาหรับเอมิเรต ฐานปฏิบัติการณ์หลักอยู่ที่ศูนย์ขนส่งสินค้าซาร์จาร์ ที่ตั้งอยู่ในสนามบินนานาชาติซาร์จาร์

ซื่อชวนแอร์ไลน์ (Sichuan Airlines)

สายการบินของสารธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีท่าอากาศยานประจำอยู่สองแห่ง คือ Chengdu Shuangliu International Airport และ Chongqing Jiangbei International Airport

แอร์แอสตาน่า (Air Astana)

สายการบินประจำชาติของสาธารณรัฐคาซัคสถาน ฐานปฏิบัติการหลักอยู่ที่เมืองอัลมาตี้ มีท่าอากาศยานหลักสองแห่งคือ ท่าอากาศยานนานาชาติแอาตาน่า และ ท่าอากาศยานนานาชาติอัลมาตี้

คูเวต แอร์เวย์ (Kuwait Airways)

สายการบินประจำชาติของประเทศคูเวต ฐานปฏิบัติการหลักอยู่ที่สนามบินนานาชาติคูเวต หนึ่งในสมาชิกของ Arab Air Carriers Organization

 

 

Post Views 138984

admin

นักเขียนประจำ emagtravel.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *