วัดต้นแหลง วัดเก่าไทลื้อ อำเภอปัว น่าน

วัดบ้านต้นแหลง หรือ วัดต้นแหลง เป็นวัดเก่าแบบไทลื้อรุ่นแรกๆ อยู่ใน อ.ปัว จ.น่าน สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2127 หรือประมาณ 422 ปี โดยช่างชาวไทลื้อ สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้มีชาวไทลื้อได้เข้ามาตั้งรากฐาน ลักษณะของวิหารทรงตะคุ่มหลังคาลาดต่ำซ้อนกัน 3 ชั้น มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ลักษณะเดียวกับบ้านเรือนแบบเดิมของชาวไทลื้อแถบสิบสองปันนา โครงสร้างส่วนบนเป็นไม้ ใช้วิธีการเข้าไม้ หรือ ต่อไม้ ผนังเจาะช่องหน้าต่างเล็กๆ เพื่อป้องกันอากาศหนาวเย็น

ทางเข้าวิหาร

พระพุทธรูป หลวงพ่อมหานิโคตรฤกษ์ ภายในวิหาร

ประตูทางเข้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เพื่อให้แสงสาดส่องมายังองค์พระประธาน วิหารต้นแหลงได้สร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากวิหารเดิมสร้างอยู่ริมตลิ่ง ถูกน้ำท่วม ที่มาของชื่อ”ต้นแหลง” นั้น มาจากชื่อไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีมากในบริเวณนี้ (ภาคกลางเรียกว่าต้นยวงผึ้ง) แต่ในปัจจุบันต้นแหลงตายไปเพราะมีน้ำท่วมบ่อย โดยธรรมชาติต้นแหลงจะชอบแล้ง กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวัดต้นแหลงเป็นโบราณสถานเมื่อพ.ศ. 2533

สิ่งที่น่าสนใจในวัด นอกจากวิหารแล้ว ยังมี พิพิธภัณฑ์ชุมชนต้นแหลง เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก มีของใช้ในสมัยก่อน ของใช้ในวัด และข้อมูลที่น่าสนใจของวัดและชุมชน

พิพิธภัณฑ์ชุมชนต้นแหลง

สิ่งของในพิพิธภัณฑ์

การเข้าชม
เวลาทำการ : ตั้งแต่เวลา 06.00– 18.00 น.
ช่วงเวลาเที่ยว : ตลอดทั้งปี
ที่ตั้ง
ที่อยู่ :
หมู่ที่ 2 ตำบลไทยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน
เบอร์โทรศัพท์ :
การเดินทาง
รถยนต์ : จากอำเภอปัวให้สังเกตธนาคารกสิกรไทย สาขาอำเภอปัว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยก่อนถึงธนาคาร ขับตรงเข้าไปจนถึงวงเวียน แล้วเลี้ยวขวาอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงที่หมายปลายทาง รวมระยะทาง 66.5 กิโลเมตร

ภายในวัดมีที่จอดรถสะดวก

Post Views 2312

admin

นักเขียนประจำ emagtravel.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *