อุทยานแห่งชาติศรีน่าน น่าน

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ประมาณ 583,750 ไร่ หรือ 934 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น เทือกเขาสลับซับซ้อนที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ขนานกันทั้งทางทิศตะวันตกและตะวันออกแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก สองฝั่งแม่น้ำเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ในเขตเทือกเขาประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา

พบสัตว์ป่าหายากหลายชนิด เช่น นกยูงซึ่งมีอยู่หลายฝูง เสือดาว เสือดำ หมี กวาง หมาป่า และหมาใน มีสัตว์ป่าหลายชนิดที่สำคัญ คือ ช้างป่า วัวแดง และกระทิง ซึ่งจะอพยพไปมาระหว่างเขตติดต่อประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ

ผาชู้ บริเวณเชิงผาชู้เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ ในฤดูหนาวสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้จาก ยอดผาชู้? และเมื่อหมอกจางจะมองเห็นลำน้ำน่านทอดตัวคดเคี้ยวอยู่ที่ปลายผืนป่า เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ช่วงใกล้ขึ้นถึงยอดจะเป็นหินแหลมคม จึงต้องเตรียมรองเท้าผ้าใบที่ใส่กระชับไปด้วยเพื่อความสะดวกในการปีนป่าย ใช้เวลาในการเดินไป-กลับ ประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ที่ประสงค์จะเดินขึ้นยอดผาชู้ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานฯ

ตามตำนานที่เล่ากันมาเกี่ยวกับผาชู้กล่าวว่า เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับเจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง เจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับคนที่ตัวเองรักจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากหน้าผา? เจ้าจันทน์ผาตามมาพบว่าเจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดดหน้าผาไปแล้ว จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามคนรักตกไปอยู่ใกล้กัน

และเจ้าจ๋วงได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดดหน้าผาไปจึงรู้สึกเสียใจและตัดสินใจกระโดดหน้าผาตามลงไปด้วยแต่กระเด็นห่างออกไป ด้วยความรักแท้ระหว่างเจ้าเอื้องผึ้งและเจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้งจึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา?? และเจ้าจ๋วงก็เกิดเป็นต้นสน ณ จุดที่ตกไปนั้นเอง ( ?จ๋วง? เป็นภาษาเหนือแปลว่าต้นสน ?เอื้องผึ้ง? แปลว่ากล้วยไม้) หน้าผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า ?ผาชู้? นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เสาดินนาน้อย (ฮ่อมจ๊อม) และคอกเสือ? ตำบลเชียงของ ห่างจากตัวเมืองน่าน 60 กิโลเมตร?? จากอำเภอนาน้อยมีทางแยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1083 ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นเสาดินมีลักษณะแปลกตาคล้าย ?แพะเมืองผี? จังหวัดแพร่

จากหลักฐานทางธรณีวิทยา พบว่าเสาดินนาน้อยเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาติ นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 10,000-30,000 ปีมาแล้ว เคยเป็นก้นทะเลมาก่อน และจากหลักฐานการค้นพบกำไลหินและขวานโบราณที่นี่ (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน) แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจเคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินเก่า

นอกจากนี้ยังมีจุดที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่ แก่งหลวง ห่างจากอำเภอนาน้อยประมาณ 35 กิโลเมตร เส้นทางเข้าถึงแก่งหลวงลำบากมาก เป็นเกาะแก่งตามธรรมชาติ เกิดจากกระแสแม่น้ำน่าน ไหลผ่านโขดหินที่กระจายอยู่กลางแม่น้ำ ในหน้าน้ำจะได้ยินเสียงน้ำกระทบโขดหินดังกึกก้อง ยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวโขดหิน และหาดทรายสีขาวเป็นแนวยาวตามริมฝั่งแม่น้ำน่าน

ลงเล่นน้ำได้ช่วงหน้าแล้งเดือนเมษายนเท่านั้น เพราะหน้าฝนน้ำจะเชี่ยวมากและเป็นอันตรายอาจทำให้จมน้ำได้? ผาหัวสิงห์และดอยเสมอดาว อยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 16 สายนาน้อย-ปางไฮ เป็นจุดชมทิวทัศน์บนยอดหน้าผาสูง สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ 360 องศา มีพื้นที่เป็นลานกว้างตามสันเขา สำหรับพักผ่อนและดูดาว ดูพระอาทิตย์ตก หากจะเดินขึ้นไปบนผาสิงห์ (เป็นหน้าผาที่มีรูปร่างคล้ายหัวสิงห์) ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางจากอุทยานฯ

เส้นทางมีระยะ 2 กิโลเมตร ระหว่างทางจะพบต้นจันทน์ผาซึ่งเป็นไม้เด่น และเมื่อท้องฟ้าแจ่มใส จากผาสิงห์สามารถมองเห็น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และแม่น้ำน่านได้

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก มีบ้านพักรับรอง และเต็นท์ให้เช่า แต่ต้องเตรียมอาหารไปเอง ติดต่อและสอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตู้ปณ. 14 ตำบลศรีสะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150 โทร. 0 5470 1106, 08 1224 0800 หรือกรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th

การเดินทาง อุทยานแห่งชาติศรีน่านอยู่ห่างจากตัวอำเภอนาน้อย 20 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1083 สายนาน้อย-ปางไฮ ระหว่างทางมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเทือกเขาที่อยู่ในเขตอุทยานฯ และแม่น้ำน่านที่ไหลคดเคี้ยวได้อย่างชัดเจน แม่น้ำน่านไหลผ่านอุทยานฯ ไปจนถึงอำเภอปากนาย และป่าที่นี่ส่วนหนึ่งเป็นป่าเบญจพรรณ ฉะนั้นในเดือนกุมภาพันธ์จะเห็นป่าเปลี่ยนสีสวยงามมาก

หรือหากเดินทางโดยรถประจำทาง ใช้รถสายกรุงเทพฯ-น่าน ลงที่อำเภอเวียงสา แล้วต่อรถประจำทาง สายเวียงสา-นาน้อย-นาหมื่น ลงที่สามแยกบ้านใหม่ แล้วเหมารถสองแถวเข้าอุทยานฯ

ที่มา. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

Post Views 215

admin

นักเขียนประจำ emagtravel.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *