วัดเชียงมั่น วัดที่เก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่

วัดเชียงมั่น เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่ มีอายุมากกว่า 180 ปี ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองทางทิศเหนือ วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ปัจจุบันวัดเชียงมั่นเป็นวัดที่มีนักท่องเที่ยวทั้งคนไทย และ ชาวต่างชาติ จำนวนมาก เข้ามาไหว้พระ และชมความงามของวัดเก่า

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารโยนก วัดเชียงมั่น มีมาตั้งแต่สมัยแรกสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1839 โดยพญามังราย ได้ทรงยกพระตำหนักเชียงมั่นถวายเป็นพระอารามให้ชื่อว่า วัดเชียงมั่น และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ช้างล้อม บริเวณพื้นที่หอประทับของพระองค์

เมื่อเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในปี พ.ศ. 2094 วัดเชียงมั่นจึงถูกปล่อยร้าง จนปี พ.ศ. 2101 เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช) แห่งพม่า บูรณปฏิสังขรณ์วัดเชียงมั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดให้สร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะกำแพง และประตูโขง มีพระมหาหินทาทิจจวังสะเป็นเจ้าอาวาสเมื่อถึงสมัยพระยากาวิละครองเมือง เชียงใหม่ (พ.ศ. 2324–2358)

ต่อมาพระพุทธศาสนาแบบธรรมยุกนิกายเผยแผ่เข้ามาในอาณาจักรล้านนา เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ (เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8) จึงนิมนต์พระธรรมยุตมาจำพรรษาอยู่ แต่ได้ย้ายไปอยู่วัดหอธรรมและวัดเจดีย์หลวงตามลำดับในภายหลัง

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

วิหารใหญ่

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

วิหารหลังใหญ่ ด้านนอก

ด้านหลังของวิหารหลังใหญ่

มุมถ่ายรูปสวย ให้เข้าวิหารหลังใหญ่จากทางเข้าด้านหน้า แล้วเดินไปด้านหลัง จะเห็นเจดีย์ช้างล้อม

พระพุทธรูปด้านหลังวิหารใหญ่

ธรรมมาสน์ล้านนา (รูปบนฝั่งซ้าย) เป็นธรรมาสน์เก่าไว้ให้พระสงฆ์ แสดงธรรมเทศนา เมื่อยืนอยู่บนธรรมมาสน์ เสียงจะก้อง ได้ยินทั่วทั้งวิหาร

พระพุทธรูปปางต่างๆ

  • วิหารใหญ่ ที่สร้างในสมัยปัจจุบัน ซึ่งระหว่างช่องหน้าต่างของวิหารหลังนี้มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนสีทองบนพื้นแดงงามวิจิตร โดยบอกเล่าเรื่องราวการสร้างเมืองและวัดของพญามังราย ทั้งเวียงกุมกาม และเมืองเชียงใหม่

วิหารเล็ก

  • วิหารเล็ก หรือ วิหารจตุรมุข เป็นวิหารเดิมของวัด ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ของเชียงใหม่ ได้แก่ พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว และพระศิลา ปางทรมานช้างนาฬาคีรี โดยพระแก้วขาวนั้นเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระนางจามเทวีแห่งแคว้นหริภุญชัย และเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่ ส่วนพระอุโบสถมีความสำคัญต่อชาวเชียงใหม่ เป็นอย่างยิ่ง เพราะในโถงด้านหน้ามีศิลาจารึกวัดเชียงมั่น บันทึกเรื่องราวการสร้างเมืองเชียงใหม่ และประวัติของวัดแห่งนี้ ตลอดจนการทำนุบำรุงวัดโดยพระราชวงศ์

เจดีย์ช้างล้อม

รูปปั้นช้างรอบเจดีย์

  • เจดีย์ช้างล้อม เป็นเจดีย์ประธาน สร้างตามแบบศิลปะล้านนา ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหารใหญ่ ฐานเจดีย์ประดับด้วยช้างปูนปั้น จำนวน 16 เชือก ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย ด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นสู่ซุ้มเรือนธาตุ ราวบันไดประดับด้วยนาคปูนปั้น ส่วนเรือนยอดเป็นเจดีย์ทรงระฆังสีทองอร่าม – หอไตรกลางน้ำสำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ ตามคติการสร้างและภูมิปัญญาล้านนา

สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ

ศาลาขัติยวงศ์ ภายในศาลามีพระพุทธรูปปางต่างๆ

ซุ้มบันได “มกรคายนาค” มกรเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ มีลักษณะผสมระหว่างจระเข้กับพญานาค พบได้บ่อยในวัดทางภาคเหนือ เช่น วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุลำปางหลวง ฯลฯ

อาคารหลังใหม่ทางด้านหลังวัด

อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช (พญามังราย) บริเวณด้านหลังวัด กษัตริย์ผู้สร้างวัดเชียงมั่น

ต้นลีลาวดีขนาดใหญ่ ข้างวิหารใหญ่ ต้นใหญ่อายุหลายปี ฟอร์มกิ่งก้านสวยมาก

ลานจอดรถหน้าวัดเชียงมั่น จอดได้ประมาณ 20 คัน จอดฟรี ถ้าที่จอดเต็มก็สามารถจอดได้ที่ริมถนน

การเดินทาง
รถยนต์ : จากประตูท่าแพใช้ถนนมูลเมือง ขับขึ้นไปทางทิศเหนือ เลี้ยวซ้ายไปทางทางที่แจ่งศรีภูมิ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนราชภาคิไนย ขับตรงไปอีกประมาณ 200 เมตร วัดเชียงมั่นจะอยู่ทางขวามือ มีที่จอดรถในวัด จอดได้ประมาณ 20 คัน

Google map

รถโดยสาร : นั่งรถแดงจากในตัวเมือง ราคาประมาณคนละ 30 – 50 บาท หรือ ตามแต่จะตกลงกัน

Post Views 389

admin

นักเขียนประจำ emagtravel.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *